Tax consultant services 063-964-4742

ให้บริการทีมที่ปรึกษากฎหมายภาษีโดยเฉพาะ ทีมทนายความแก้ไขปัญหากฎหมายภาษี ค่าบริการแต่ละเคส ขึ้นอยู่กับความยากง่าย พิจารณาเป็นรายเคส กรณีมีปัญหา หากได้รับเอกสารจดหมายหนังสือจากสรรพากรมาแล้ว สามารถส่งรายละเอียด แอดไลน์ iinlaw หรือส่งเข้าเมล hiinlaw@gmail.com เพื่อความรวดเร็วในการแก้ไขและเข้าใจปัญหาตรงประเด็น แก้ตรงจุด แนะนำแนวทางต่างๆเพื่อดำเนินการประกอบการตัดสินใจกับผลที่คาดว่าจะได้รับ

โทร. 063-964-4742 
ไลน์ไอดี: iinlaw

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1.บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะติองปฏิบัติ ดังนี้
1.ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น
กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว
หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชนสามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ 
โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก

- ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ทุกสาขาทุกแห่ง
- สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี
2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
เว้นแต่ เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก
วิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรกภายในเดือนกันยายน ของทุกปี

ถ้าหากไม่ชำระภายในเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิด ดังนี้
1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน)
ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบ ปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป จะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี
เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบ
3. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
4. กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
5. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2379/2534
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า แต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์
ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้างนั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป จะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3)
ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน
แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อนๆ ไว้เกินก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย

***หมายเหตุ ประมวลรัษฎากร
มาตรา 89(3) ได้บัญญัติเกี่ยวกับเบี้ยปรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือที่นำส่งคลาดเคลื่อน


ผู้เสียภาษีนิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
1. บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายไทย
-บริษัทจำกัด /บริษัทมหาชนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
2. บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนบุคลลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดำเนินการทางการค้าหรือหากำไร
4. กิจการร่วมค้า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
5. มูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด
ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นโดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) กำไรสุทธิ
(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือเดียวกัน ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี
กำหนดให้การที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประมวลรัษฎากรกำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเท
ไม่ได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ 
ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง
เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้
***หมายเหตุ ประมวลรัษฎากร
มาตรา 70 ตรี กำหนดให้ การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
ถือว่าเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น ซึ่งตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทไม่ได้กำหนดให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัท ดังนั้น
ในการคำนวณรายได้ของบริษัทจะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้